เผยแพร่งานวิจัย

ชื่อเรื่อง : รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนกุงขาม

ปีที่ทำการวิจัย : 2564

ผู้วิจัย : สุรศักดิ์ ลือขจร
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกุงขาม วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ

วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่: 15 มิถุนายน 2565


บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบันและสภาพความต้องการรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านกุงขาม กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านกุงขาม จำนวน 8 คน เลือกมาแบบเจาะจง 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านกุงขาม กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เลือกมาแบบเจาะจง ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบฯ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านกุงขาม กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านกุงขาม จำนวน 8 คน เลือกมาแบบเจาะจง และ4) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านกุงขาม กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านกุงขาม จำนวน 8 คน เลือกมาแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสารและวรรณกรรม แบบตรวจสอบองค์ประกอบและตัวชี้วัด แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบตรวจสอบประสิทธิภาพรูปแบบ แบบทดสอบ แบบบันทึกผลการประเมินความสามารถ แบบประเมินรูปแบบ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า

  1. สมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านกุงขาม สภาพปัจจุบัน ครูผู้สอนมีสมรรถนะหลัก สมรรถนะประจำสายงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และครูผู้สอนมีสภาพความต้องการพัฒนาสมรรถนะทั้ง 2 สมรรถนะโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
  2. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนกุงขาม องค์ประกอบรูแบบ 6 ด้าน มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก
  3. ครูมีความรู้ ความเข้าใจ การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีความสามารถในการออกแบบการประเมินผลประจำหน่วยการเรียนรู้ ความสามารถในเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ และความสามารถการจับคู่นิเทศการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด
  4. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความเป็นไปได้ มีความเป็นประโยชน์ มีความเหมาะสม และมีความถูกต้องครอบคลุม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ : รูปแบบ ; สมรรถนะครู ; บูรณาการ ; หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ดาวน์โหลด